มิจฉาวณิชชา
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก วณิชชา 5)
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
ศาสนาพุทธ |
---|
มิจฉาวณิชชา คือ การค้าขายที่ผิด[1][2] หรือไม่ชอบธรรม หมายถึง บุคคลไม่ควรค้าขาย[3] สิ่งเหล่านี้ ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายต่อเพื่อนมนุษย์ต่อสัตว์และต่อสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย
- สัตถวณิชชา คือ การขายอาวุธ อันเป็นอุปกรณ์ซึ่งมีไว้ประทุษร้าย เชื่อว่า คือสิ่งที่ได้ชื่อว่า อาวุธทุกชนิด เช่น อาวุธปืน อาวุธเคมี ระเบิด นิวเคลียร์ อาวุธอื่น ๆ เป็นต้น อาวุธเหล่านี้หากมีเจตนาเพื่อทำร้ายกัน จะก่อให้เกิดการทำลายล้างซึ่งกันและกัน เป็นการทำลายสันติภาพและมิตรภาพ
- สัตตวณิชชา หมายถึง การค้าขายมนุษย์ อันหมายถึงการจ้างวานแลกเปลี่ยนด้วยเงินทองเพื่อสำเร็จความพอใจที่เนื่องด้วยชีวิตมนุษย์ เช่น การซื้อประเวณี ตลอดถึงการค้าขายเด็ก การค้าทาส ตลอดจนการใช้แรงงานเด็กและสตรีอย่างทารุณเพื่อผลกำไร[4]
- มังสวณิชชา หมายถึง ค้าขายสัตว์เป็นที่ยังมีชีวิต สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหารส่งเสริมทารุณกรรมและเป็นการส่งเสริมให้ทำผิดศีลข้อที่ 1 คือการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต[4]
- มัชชวณิชชา หมายถึง การค้าขายสุราและของมึนเมา โดยการกล่าวครอบคลุมหลักการถึงการไม่ให้ค้าขายสารเสพติดทุก ๆ ชนิด
- วิสวณิชชา หมายถึง การค้าขายยาพิษ ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ รวมทั้งสารเคมีที่อันตรายต่อชีวิต คน, สัตว์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ถามว่า มีอาชีวะอย่างไร แก้ว่า ละเว้นการค้าขายที่ผิด ๕ อย่าง(- พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า ๓๓๔, ๓๓๕ พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล โดย มหามกุฏราชวิทยาลัย)
- ↑ มิจฉาวณิชชา คือการค้าขายไม่ชอบธรรม ๕ อย่าง ๑.ค้าขายเครื่องประหาร ๒.ค้าขายมนุษย์ ๓.ค้าขายสัตว์เป็น สำหรับฆ่าเพื่อเป็นอาหาร ๔.ค้าขายน้ำเมา ๕.ค้าขายยาพิษการค้าขาย ๕ อย่างนี้ เป็นข้อห้ามอุบาสกไม่ให้ประกอบ (- หนังสือนวโกวาท)
- ↑ trades which should not be plied by a lay disciple
- ↑ 4.0 4.1 Following the Five Precepts also implies shunning the five kinds of occupation forbidden to a lay Buddhist: trading in arms, in human beings (i.e., including slavery and prostitution), in flesh (i.e., breeding animals for slaughter), in intoxicants, and in poisons.